วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดิจิตอลพริ้นท์ ไม่ใช่ออฟเซ็ท ออฟเซ็ท ไม่เหมือนดิจิตอล

    
ความแตกต่างด้านเทคนิคการสร้างภาพ ความหมายของคำว่า ”สิ่งพิมพ์” “Printing” ต้องเป็นการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ มีการกด ประทับ รูปลงบนวัสดุ แม่พิมพ์นั้นต้องสามารถทำซ้ำได้เป็นจำนวนมาก และสม่ำเสมอ เหมือนกันทุกใบ จึงจะเรียกว่า “สิ่งพิมพ์” ออฟเซ็ทเป็นระบบหนึ่งของการพิมพ์ ที่ภาพเกิดจาแม่พิมพ์เรียบที่สร้างภาพจากความแตกต่างของพื้นผิวที่น้ำกระจาย ตัวบนผิวได้จะเป็นส่วนที่ไม่มีภาพ และส่วนที่ไม่รับน้ำ รับแต่ไขมัน คือหมึกอยู่ในส่วนที่เกิดเป็นภาพ และใช้แรงกดถ่ายทอดภาพจากแม่พิมพ์ที่เป็นภาพตรง ให้กลับด้านบนโมล์ผ้ายาง และกดบนวัสดุพิมพ์ก็จะกลับเป็นด้านตรงอีกครั้ง ซึ่งเดิมเป็นเทคนิคที่เรียกว่า Litho Graph. การพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ปกทุกชิ้นจะมีความเหมือนกันตามแม่พิมพ์ โดยไม่ผิดเพี้ยน ในทุกจำนวนที่พิมพ์ขึ้น

ดิจิตอลพริ้นท์ อยู่ในข่ายของ การทำสำเนา ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีเครื่องถ่ายเอกสารหมึกโทนเนอร์ (หมึกผง) หรือเลเซอร์พริ้นท์ เป็นการสร้างภาพจากแม่พิมพ์ชั่วคราวบนดรัมด้วยไฟฟ้าสถิต แล้วให้ผงหมึกเกาะกับส่วนภาพแล้วถ่ายเทลงบนกระดาษ แล้วทำให้ยึดติดกับกระดาษได้ด้วยความร้อน การพิมพ์แบบนี้ ไม่มีทางที่จะเหมือนกันทุกแผ่น เพราะไม่ได้มาจากแม่พิมพ์ถาวรชิ้นเดียวกันทั้งหมด


ความแตกต่างในด้านตัวเครื่อง เครื่องที่อยู่ในข่าย เครื่องทำสำเนา เช่น

1. เครือง COPY เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,ก๊อปปี๊ปริ้นท์(ทำสำเนาจากการปรุแม่พิมพ์กระดาษไข)
2. Printer แบบไม่มีแม่พิมพ์เช่น ดอดเมทริกซ์,อิงค์เจท,เครื่องพิมพ์ระบบเทอร์มอล, แบบมีแม่พิมพ์ชั่วคราวเช่นเลเซอร์พริ้นท์,ปริ้นท์เตอร์ที่ใช้หมึกโทนเนอร์ ทุกชนิด
3. Duplicator จะใช้เรียกเครื่องทำสำเนาที่มีแม่พิมพ์ และสามารถทำซ้ำจำนวนค่อนข้างมาก แต่ไม่ถึงระดับอุตสาหกรรม เช่นเครื่อง โรเนียว แม่พิมพ์กระดาษไข,เครื่องก๊อปปี้ปริ้นท์,ริโซ่, หรือแม้แต่เครื่องเก็ตเต็ดเนอร์ที่โรงพิมพ์รู้จักกัน จริงอยู่ที่เป็นการพิมพ์ออฟเซ็ท แต่เป็นเครื่องระดับทำสำเนา เพราะความทนทาน การทำงานเบา และคุณภาพสิ่งพิมพ์ที่ได้อยู่ในระดับต่ำ,ตลอดจนเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทตัด 11 หรือตัด 5 ของญี่ปุ่นบางยี่ห้อ ก็เป็น Duplicator ดูได้จากเอกสารการขาย หรือใบโฆษณา จะไม่เขียนว่าเป็น Printing Machine ซึ่งหากเป็น Machine จะหมายถึงว่าเป็นเครื่องจักรสำหรับงานหนักที่มีความทนทาน ถาวร ใช้งานหนัก ทำงาน 24 ชม.ได้

ความแตกต่างด้านการผลิตที่ตอบสนองตลาด จุดประสงค์ในการผลิตเครื่องแบบดิจิตอล เพื่อรองรับงานที่ต้องการความเร็วในการผลิตงานจำนวนน้อย ซึ่งเวลาที่ใช้ และค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่า เป็นงานประเภทที่ไม่ต้องการความคงทน อายุของสื่อสั้น เช่นใบปลิว เอกสารการประชุม ตัวอย่างงาน จนถึงเอกสาร,หนังสือประชาสัมพันธ์จำนวนน้อย

สิ่งพิมพ์ออฟเซ็ท เมื่อจำนวนพิมพ์เกินกว่าระดับหนึ่ง ซึ่งประมาณ 500 แผ่น ก็จะมีต้นทุนที่เท่ากันกับดิจิตอล ปริ้นท์ และยิ่งพิมพ์ซ้ำมากขึ้นเท่าไหร่ ใบต่อๆไปก็จะถูกลงเรื่อยๆ ส่วนเรื่องเวลาที่ใช้ในการผลิต จะเร็วกว่าก็ต่อเมื่อจำนวนพิมพ์เป็นพัน เป็นหมื่นใบ จะเร็วกว่าดิจิตอล

ความแตกต่างด้านกายภาพของชิ้นงาน
1. เนื่องด้วยดิจิตอลใช้หมึกโทนเนอร์ที่ผนึกกับวัสดุด้วยความร้อนเป็นตัวเร่ง การยึดเกาะจะจำกัดกับวัสดุบางประเภท ไม่ทนทานต่อการเสียดสี และความร้อน
2. ความหนา จะมีข้อจำกัดของตัวเครื่องไม่สามารถรองรับวัสดุที่หนา แข็ง ลื่น ได้
3. ความเที่ยงตรงของภาพ เป็นระบบที่ความแม่นยำน้อย
4. ความคมชัดต่ำกว่าต้นแบบ โดยเฉพาเมื่อพิมพ์บนวัสดุผิวหยาบ เพราะไม่มีแรงกด
5. เป็นงานพิมพ์ที่ไม่สามารถจดทะเบียนสิ่งพิมพ์ หรือ ISBN ได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายสิ่งพิมพ์ เนื่องจากขาดความคงทนถาวรนั่นเอ

Buy now  http://astore.amazon.com/laserprintertoner00-20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น