วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของเครื่องถ่ายเอกสาร


ประวัติของเครื่องถ่ายเอกสาร
        วันนี้เริ่มกันที่ประวัติและความเป็นมาของเจ้าเครื่องถ่ายเอกสารกันสักนิดน่ะครับรู้ไว้ไประดับความรู้ สักนิด
 ครับสำหรับคนที่จะสืบค้นหาประวัติและความเป็นมาของเครื่องถ่ายเอกสารในอนาคต.....เริ่มที่นี้เลยครับ..
เชสเตอร์ คาร์ลสัน )Chester Carlson) นักเคมีและนักฟิสิกส์ ทำงานเป็นทนายความสิทธิบัตร (patent attorney) ที่บริษัท P. R. Mallory and Co Inc. ในช่วงทีทำงานอยู่นั้นคาร์ลสันเห็นว่าใบแบบฟอร์มรายละเอียดสิทธิบัตรมักจะ หมดอยู่เสมอ ทำให้ต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่ คาร์ลสันคิดว่าหากมีเครื่องมือที่จะทำสำเนาเอกสารจำนวนมากได้คงจะเป็น ประโยชน์ต่อสำนักงานมากแน่ๆ เมื่อคิดได้ดังนั้นก็ลงมือค้นคว้าอยู่หลายเดือน คาร์ลสันได้เรียนรู้ถึงวัสดุ  นำแสง(photoconductive material) ซึ่งเมื่อฉายแสงไปบนวัสดุนี้จะทำให้มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น เค้าตั้งใจจะประยุกต์หลักการนี้ไปใช้สร้างเครื่องทำ

สำเนา

คาร์ลสันได้รับความช่วยเหลือจากอ๊อตโต คอร์นี )Otto Kornei) ในการเตรียมแผ่นสังกะสีที่เคลือบผิวด้วยกำมะถันเพื่อใช้เป็นวัสดุนำแสง ส่วนต้นฉบับที่ใช้ในการทดลองคัดลอกคือสไลด์แก้วสำหรับกล้องจุลทรรศน์ ที่มีข้อความเขียนว่า "10-22-38 ASTORIA" ม่านของห้องปิดลงเพื่อป้องกันแสงไม่ให้ส่องไปยังแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถัน และการทดลอง

เริ่มขึ้น

ทั้งคู่ใช้ผ้าเช็ดหน้าถูๆ ๆ ผิวกำมะถัน อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประจุบวกบนผิวกำมะถัน จากนั้นนำแผ่นสไลด์ต้นฉบับมาประกบ แล้วใช้โคมไฟมาส่องผ่านแผ่นสไลด์สักครู่ ตามหลักการแล้วเมื่อแสงกระทบผิวกำมะถันจะทำให้เกิดประจุลบซึ่งจะหักล้างกับ ประจุบวกที่มีอยู่ก่อน แต่อักษรบนสไลด์จะบังแสงไว้ทำให้ผิวกำมะถันที่อยู่ใต้ตัวอักษรไม่โดนแสง ประจุบวกน่าจะเหลืออยู่ ขั้นตอนต่อไปคือใส่ผงหมึก ซึ่งในตอนนั้นคาร์ลสันใช้ผงไลโคโปเดียม)lycopodium powder) มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลได้จากสปอร์ของพืชในตระกูลไลโคโปเดียม เมื่อแยกสไลด์ต้นฉบับออกแล้วเป่าผงไลโคโปเดียมลงบนแผ่นสังกะสี หลังจากปัดผงส่วนเกินออกสิ่งที่เหลืออยู่บนนั้นคือ ตัวอักษรที่เกือบเหมือนกับต้นฉบับ

คาร์ลสันและอ๊อตโตทดลองซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อ ให้แน่ใจว่าไม่ได้ฝันไป เมื่อแน่ใจแล้วจึงนำกระดาษไขมาทาบลงบนแผ่นสังกะสีและให้ความร้อน ไขจากกระดาษละลายและดูดเอาหมึกจากแผ่นสังกะสีให้ติดอยู่บนแผ่นกระดาษ ในที่สุด เป็นอันว่าสำเนาซีร็อกซ์แผ่นแรกได้ถือกำเนิดขึ้น ในวันที่ 22 ตุลาคม 2481 หรือวันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว หลังจากนั้นคาร์ลสันได้จดสิทธิบัตรเทคนิคนี้เอาไว้ อย่างไรก็ตามแม้จะประสบความสำเร็จในหลักการ แต่เมื่อนำไปเสนอกับบริษัทต่างๆ กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย เครื่องถ่ายเอกสารจึงยังไม่มีการผลิตใน

เชิงพาณิชย์ จนอีกหลายปีต่อมา
 
สำเนาเอกสารแผ่นแรกของโลก ได้จากกระบวนการ
Xerography (xero = แห้ง, graphy = เขียน)
หรื่อที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ซีร็อกซ์ (Xerox)
เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกสร้างโดยเชสเตอร์ คาร์ลสัน
แม้จะทำงานได้ไม่ดีนัก แต่ก็เป็นพื้นฐานทำให้สามารถ
สร้างเครื่องซีร็อกซ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
      
หลังจากนั้น 5 ปี  สถาบัน Battelle Memorial Institute ตกลงเซ็นสัญญาร่วมพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสาร คาร์ลสันจึงสามารถสร้างเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกได้สำเร็จแม้จะยังทำงาน ไม่ดีนัก และในปี 2489 

สถาบัน Battelle ได้มอบสิทธิในการพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสารให้กับบริษัทฮาลอยด์ (Haloid) บริษัทเล็กๆ 
แห่งหนึ่ง ที่ผลิตกระดาษอัดรูปถ่าย บริษัทฮาลอยด์ใช้เวลาพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสารจนถึงปี 2502 ในที่สุดก็สามารถวางขายเครื่องถ่ายเอกสารสำหรับสำนักงานได้ ซึ่งก็ได้รับความนิยมและทำกำไรได้
มหาศาล จนบริษัทเล็กๆ ขยายกิจการขึ้นและเปลี่ยนชื่อจาก ฮาลอยด์ เป็น ซีร็อกซ์ (xerox) ในเวลาต่อมา
เครื่องซีร็อกซ์รุ่น 914  รุ่นแรกที่ออกวางจำหน่าย
แม้จะยังไม่ได้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ก็ช่วยบุกเบิก
ตลาดของเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้สำนักงานต่างๆ
รู้จักเครื่องถ่ายเอกสารของซีร็อกซ์

Buy now  http://astore.amazon.com/laserprintertoner00-20
                                               ขอขอบคุณที่มาของบทความ วิชาการ.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น