วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดิจิตอลพริ้นท์ ไม่ใช่ออฟเซ็ท ออฟเซ็ท ไม่เหมือนดิจิตอล

    
ความแตกต่างด้านเทคนิคการสร้างภาพ ความหมายของคำว่า ”สิ่งพิมพ์” “Printing” ต้องเป็นการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ มีการกด ประทับ รูปลงบนวัสดุ แม่พิมพ์นั้นต้องสามารถทำซ้ำได้เป็นจำนวนมาก และสม่ำเสมอ เหมือนกันทุกใบ จึงจะเรียกว่า “สิ่งพิมพ์” ออฟเซ็ทเป็นระบบหนึ่งของการพิมพ์ ที่ภาพเกิดจาแม่พิมพ์เรียบที่สร้างภาพจากความแตกต่างของพื้นผิวที่น้ำกระจาย ตัวบนผิวได้จะเป็นส่วนที่ไม่มีภาพ และส่วนที่ไม่รับน้ำ รับแต่ไขมัน คือหมึกอยู่ในส่วนที่เกิดเป็นภาพ และใช้แรงกดถ่ายทอดภาพจากแม่พิมพ์ที่เป็นภาพตรง ให้กลับด้านบนโมล์ผ้ายาง และกดบนวัสดุพิมพ์ก็จะกลับเป็นด้านตรงอีกครั้ง ซึ่งเดิมเป็นเทคนิคที่เรียกว่า Litho Graph. การพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ปกทุกชิ้นจะมีความเหมือนกันตามแม่พิมพ์ โดยไม่ผิดเพี้ยน ในทุกจำนวนที่พิมพ์ขึ้น

ดิจิตอลพริ้นท์ อยู่ในข่ายของ การทำสำเนา ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีเครื่องถ่ายเอกสารหมึกโทนเนอร์ (หมึกผง) หรือเลเซอร์พริ้นท์ เป็นการสร้างภาพจากแม่พิมพ์ชั่วคราวบนดรัมด้วยไฟฟ้าสถิต แล้วให้ผงหมึกเกาะกับส่วนภาพแล้วถ่ายเทลงบนกระดาษ แล้วทำให้ยึดติดกับกระดาษได้ด้วยความร้อน การพิมพ์แบบนี้ ไม่มีทางที่จะเหมือนกันทุกแผ่น เพราะไม่ได้มาจากแม่พิมพ์ถาวรชิ้นเดียวกันทั้งหมด


ความแตกต่างในด้านตัวเครื่อง เครื่องที่อยู่ในข่าย เครื่องทำสำเนา เช่น

1. เครือง COPY เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,ก๊อปปี๊ปริ้นท์(ทำสำเนาจากการปรุแม่พิมพ์กระดาษไข)
2. Printer แบบไม่มีแม่พิมพ์เช่น ดอดเมทริกซ์,อิงค์เจท,เครื่องพิมพ์ระบบเทอร์มอล, แบบมีแม่พิมพ์ชั่วคราวเช่นเลเซอร์พริ้นท์,ปริ้นท์เตอร์ที่ใช้หมึกโทนเนอร์ ทุกชนิด
3. Duplicator จะใช้เรียกเครื่องทำสำเนาที่มีแม่พิมพ์ และสามารถทำซ้ำจำนวนค่อนข้างมาก แต่ไม่ถึงระดับอุตสาหกรรม เช่นเครื่อง โรเนียว แม่พิมพ์กระดาษไข,เครื่องก๊อปปี้ปริ้นท์,ริโซ่, หรือแม้แต่เครื่องเก็ตเต็ดเนอร์ที่โรงพิมพ์รู้จักกัน จริงอยู่ที่เป็นการพิมพ์ออฟเซ็ท แต่เป็นเครื่องระดับทำสำเนา เพราะความทนทาน การทำงานเบา และคุณภาพสิ่งพิมพ์ที่ได้อยู่ในระดับต่ำ,ตลอดจนเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทตัด 11 หรือตัด 5 ของญี่ปุ่นบางยี่ห้อ ก็เป็น Duplicator ดูได้จากเอกสารการขาย หรือใบโฆษณา จะไม่เขียนว่าเป็น Printing Machine ซึ่งหากเป็น Machine จะหมายถึงว่าเป็นเครื่องจักรสำหรับงานหนักที่มีความทนทาน ถาวร ใช้งานหนัก ทำงาน 24 ชม.ได้

ความแตกต่างด้านการผลิตที่ตอบสนองตลาด จุดประสงค์ในการผลิตเครื่องแบบดิจิตอล เพื่อรองรับงานที่ต้องการความเร็วในการผลิตงานจำนวนน้อย ซึ่งเวลาที่ใช้ และค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่า เป็นงานประเภทที่ไม่ต้องการความคงทน อายุของสื่อสั้น เช่นใบปลิว เอกสารการประชุม ตัวอย่างงาน จนถึงเอกสาร,หนังสือประชาสัมพันธ์จำนวนน้อย

สิ่งพิมพ์ออฟเซ็ท เมื่อจำนวนพิมพ์เกินกว่าระดับหนึ่ง ซึ่งประมาณ 500 แผ่น ก็จะมีต้นทุนที่เท่ากันกับดิจิตอล ปริ้นท์ และยิ่งพิมพ์ซ้ำมากขึ้นเท่าไหร่ ใบต่อๆไปก็จะถูกลงเรื่อยๆ ส่วนเรื่องเวลาที่ใช้ในการผลิต จะเร็วกว่าก็ต่อเมื่อจำนวนพิมพ์เป็นพัน เป็นหมื่นใบ จะเร็วกว่าดิจิตอล

ความแตกต่างด้านกายภาพของชิ้นงาน
1. เนื่องด้วยดิจิตอลใช้หมึกโทนเนอร์ที่ผนึกกับวัสดุด้วยความร้อนเป็นตัวเร่ง การยึดเกาะจะจำกัดกับวัสดุบางประเภท ไม่ทนทานต่อการเสียดสี และความร้อน
2. ความหนา จะมีข้อจำกัดของตัวเครื่องไม่สามารถรองรับวัสดุที่หนา แข็ง ลื่น ได้
3. ความเที่ยงตรงของภาพ เป็นระบบที่ความแม่นยำน้อย
4. ความคมชัดต่ำกว่าต้นแบบ โดยเฉพาเมื่อพิมพ์บนวัสดุผิวหยาบ เพราะไม่มีแรงกด
5. เป็นงานพิมพ์ที่ไม่สามารถจดทะเบียนสิ่งพิมพ์ หรือ ISBN ได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายสิ่งพิมพ์ เนื่องจากขาดความคงทนถาวรนั่นเอ

Buy now  http://astore.amazon.com/laserprintertoner00-20

วิวัฒนาการของเครื่องถ่ายเอกสาร

วิวัฒนาการเครื่องถ่ายเอกสาร จาก ระบบอนาลอค สู่ ระบบดิจิตอล

หากกล่าวถึงโลกของเราในทุกวันนี้อะไรๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การขนส่งคมนาคม การติดต่อสื่อสารต่างๆ ที่ทะให้โลกทุกวันนี้อยู่ภายใต้คลิกแค่คลิกเดียวเอง เพราะไม่เราจะอยู่มุมไหนของโลก ทุกวันนี้เราสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างง่ายดาย เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุดสมัยจากที่เคยระบบ Manual ที่ต้องคนเป็นควบคุมทุกอย่าง ก็เปลี่ยนเป็นระบบ Auto ที่คนไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับมัน ไม่ต่างจากเครื่องถ่ายเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเช่นกัน


ยุคหนึ่งเรามีเครื่องถ่ายเอกสารที่เป็นระบบอนาลอคที่สามารถทำสำเนาออกมาให้เราได้ไม่ต่างจากต้นฉบับ ทำให้มนุษย์ประหยัดเวลามากไม่ต้องคัดลอกที่ละตัวอักษร แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ โลกของเครื่องถ่ายเอกสารก็ได้มีการเปลี่ยนเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกยุคดิจิตอล จึงมีเครื่องถ่ายเอกสารระบบดิจิตอลถือเกิดขึ้นมาในโลก และวันนี้นายปลาทองจะนำท่านไปรู้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารระบบอนาลอคและเครื่องถ่ายเอกสารระบบดิจิตอล
  • เครื่องถ่ายเอกสารอนาลอคจะใช้วิธีการสแกนต้นฉบับทุกครั้งที่มีการสำเนาเอกสาร กล่าวคือ ถ้าเราต้องการถ่ายเอกสาร 10 ใบ เราจำเป็นต้องสแกนต้นฉบับถึง 10 ครั้ง แต่ถ้าหากเป็นเครื่องถ่ายระบบดิจิตอลนั้นสามารถถ่ายสำเนาได้กี่ใบก็ได้ต่อการสแกนต้นฉบับแค่ครั้งเดียว
  • เครื่องถ่ายเอกสารอนาลอคจะใช้กระจกสะท้อนแสงเพื่อให้ภาพจากต้นฉบับตกไปถึงชุดสร้างภาพ ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องดิจิตอลที่แสงจะสะท้อนไปยัง CCD และ CCD จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากรูปภาพ (สัญญาณแสง) เป็นสัญญาณดิจิตอล (เลข 0 และ เลข 1) แล้วใช้แสงยิงไปที่ลูกดรัมเพื่อทำให้เกิดภาพต่างๆ
  • เครื่องถ่ายเอกสารอนาลอคจะทำหน้าถ่ายเอกสาร เพียงอย่างเดียวแต่เครื่องถ่ายดิจิตอลนั้นนอกจากจะสามารถถ่ายเอกสารได้แล้ว ยังสามารถ ปริ้นท์ แฟ็กซ์ สแกน ได้ด้วย

นี้ก็เป็นเพียงความแตกต่างเพียงบางข้อที่สามารถเรียบเรียงได้ในคราวนี้ คราวหน้าผมจะนำเรื่องราวของเครื่องถ่ายเอกสาร หรือเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานด้านถ่ายเอกสารและงานสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาฝากน่ะครับ วันนี้ลาก่อน ขอบคุณครับ...

รู้เท่าทันเครื่องถ่ายเอกสาร ป้องกันตัวเองได้เยอะ

   
สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสารและอันตรายจาการใช้เครื่องถ่ายเอกสารนั้น ขออนุญาตแบ่งเป็น 2 ตอนครับ เพราะเนื้อหาค่อนข้างยาว มาเริ่มกันที่ตอนที่ 1 เลยครับ

อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร

ทราบหรือไม่ว่าเครื่องถ่ายเอกสารมีอันตรายเหมือนกัน ถึงแม้ว่าการทำงานในสำนักงานจะไม่มีอันตรายร้ายแรงแฝงตัวอยู่เหมือนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่างานออฟฟิศจะมีความปลอดภัยไปทั้งหมด อย่างน้อยก็มีคำถามเกิดขึ้นอยู่เสมอว่า อุปกรณ์สำนักงานบางชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องถ่ายเอกสารที่มีแสงจ้าและกลิ่นสารเคมีระเหยออกมาตลอดเวลานั้นจะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่ ?

วันนี้ทางเราจึงได้นำสาระน่ารู้เกี่ยวกับอันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารมานำเสนอเพื่อที่จะได้ทราบถึงอันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารที่มีอยู่จริง
แต่ผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีการปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยหรือไม่
โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการใช้เครื่องถ่ายเอกสารแต่ละครั้งจะมี "สภาพที่ไม่ปลอดภัย" ปรากฏออกมานั่นคือ

1. ก๊าซโอโซน เป็นการทำให้เกิดการระคายเคือง และการสัมผัสก๊าซนี้นาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจและระบบประสาทได้
2. ฝนผงหมึก เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตราย รวมถึงสารที่อาจก่อมะเร็ง และสารที่เป็นสาเหตุของภูมิแพ้
3. แสงเหนือม่วง (UV Light) มักเป็นอันตรายต่อตา การสัมผัสแสงจ้าจากการถ่ายเอกสารเป็นเวลานานจะเป็นสาเหตุของการอาการปวดตาและปวดศีรษะ

โอโซนจากเครื่องถ่ายเอกสาร

โอโซนจากเครื่องถ่ายเอกสารเกิดขึ้นจากการอัดและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้งกระดาษ และบางส่วนที่เกิดจากการปล่อยแสงเหนือม่วงจากหลอดไฟพลังงานสูงของ
เครื่องถ่ายเอกสาร(แสงเหนือม่วงจะทำใหก๊าซออกซิเจนรวมกันเป็นโอโซนได้ง่ายขึ้น) แต่ในสภาพปกติหรือในสำนักงานทั่วไป
โอโซนจะสลายตัวเป็นออกซิเจนภายใน 2-3 นาทีซึ่งอัตราการสลายตัวจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา อุณหภูมิ (อุณหภูมิสูงสลายตัวได้เร็วขึ้น)
การระบายอากาศและพื้นวัตถุที่โอโซนจะสลายตัวได้ถึง 100 หากสัมผัสถ่านที่มีประจุ (Activated Carbon)
ในเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่ๆ มักจะมีแผ่นกรองประเภท Activated Carbon Filter เพื่อสลายโอโซนก่อนปล่อยออกจึงมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยได้มากขึ้น

ผงหมึก 



ผงหมึกที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปในปัจจุบัน (ระบบแห้ง) เป็นผงหมึกประเภทผงคาร์บอนดำ 10% ผสมกับพลาสติกเรซิน ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพ
จึงควรระมัดระวังขณะเติมผงหมึก รวมทั้งความสะอาดและกำจัดผงหมึกที่ใช้แล้วโดยควรทิ้งในภาชนะบรรจุมิดชิด ไม่ควรทิ้งลงในตะกร้าหรือถังขยะในสำนักงาน
การหายใจเอาผงหมึกเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีการไอและจาม นอกจากนี้สารไนไตรไพรีนซึ่งพบในผงคาร์บอนดำ และสารไนไตโตรฟลูออรีน (TNF)
ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมีผลต่อทารกในครรภ์ ผู้ที่มีหน้าที่ถ่ายเอกสารเป็นประจำหรือ
ผู้ที่มีหน้าที่เปลี่ยนถ่ายผงหมึกควรได้รับการฝึกอบรมในเรื่องความปลอดภัยในการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ควรใช้ถุงมือในการสัมผัสกับผงหมึก หลีกเลี่ยงการสูดเอาผงหมึกเข้าไป
ในกรณีที่เครื่องถ่ายเอกสารมีปัญหาเช่น พบผงหมึกเปื้อนติดกระดาษเป็นจำนวนมากควรหยุดเครื่องและติดต่อบริษัทเพื่อรับการซ่อมบำรุงทันที
สารเคมีอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในเครื่องถ่ายเอกสาร ได้แก่ เซเลเนียม แคดเมี่ยมซัลไฟด์ ซิงไดออกไซด์และโพลิเมอร์บางตัว แต่มีจำนวนน้อยมากในเครื่องถ่ายเอกสารสภาพปกติ

แสงเหนือม่วง 

แสงเหนือม่วง (UV Light) แผ่รังสีออกมา จากหลอดไฟพลังงานสูงภายในเครื่องขณะที่มีการถ่ายเอกสารซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของกระจกตาและมีผื่นคันตามผิวหนัง
แต่ปกติแสงเหนือม่วงจะไม่ทะลุผ่านกระจกที่วางเอกสารต้นฉบับ เพราะมีพลังงานต่ำและถูกดูดกลืนและถูกดูดกลืนไป อันตรายจากแสงเหนือม่วงจะเกิดขึ้นได้หากมอง-
แสงที่ทะลุออกมาจากกระจก ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แสบตาดังนั้นในการถ่ายเอกสารทุกครั้งควรปิดฝาครอบให้มิดชิด

นอกจากที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องถ่ายเอกสาร ได้จากความร้อนจากการถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน ในสถานที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศ และเรื่องเสียงดัง
ในเครื่องถ่ายเอกสารขนาดใหญ่อาจดังถึง 80 เดซิเบล 3 


นี้ก็เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องถ่ายเอกสาร หวังว่าคงมีประโยชน์กับหลายๆ ท่านที่มีโอกาสใช้งานเครื่องถ่ายเอกสาร และรวมถึงศูนย์ให้บริการถ่ายเอกสารทั่วๆ ไปน่ะครับ คราวหน้าเราจะมาพูดถึงแนวทางในการใช้เครื่องถ่ายเอกสารอย่างปลอดภัยครับ วันนี้ขอบคุณมากครับ
  

                                                                     สงสัยต้องใช้รุ่นนี้ถึงจะปลอดภัย...
Buy now http://astore.amazon.com/laserprintertoner00-20
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกสารวิชาการกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย

ประวัติของเครื่องถ่ายเอกสาร


ประวัติของเครื่องถ่ายเอกสาร
        วันนี้เริ่มกันที่ประวัติและความเป็นมาของเจ้าเครื่องถ่ายเอกสารกันสักนิดน่ะครับรู้ไว้ไประดับความรู้ สักนิด
 ครับสำหรับคนที่จะสืบค้นหาประวัติและความเป็นมาของเครื่องถ่ายเอกสารในอนาคต.....เริ่มที่นี้เลยครับ..
เชสเตอร์ คาร์ลสัน )Chester Carlson) นักเคมีและนักฟิสิกส์ ทำงานเป็นทนายความสิทธิบัตร (patent attorney) ที่บริษัท P. R. Mallory and Co Inc. ในช่วงทีทำงานอยู่นั้นคาร์ลสันเห็นว่าใบแบบฟอร์มรายละเอียดสิทธิบัตรมักจะ หมดอยู่เสมอ ทำให้ต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่ คาร์ลสันคิดว่าหากมีเครื่องมือที่จะทำสำเนาเอกสารจำนวนมากได้คงจะเป็น ประโยชน์ต่อสำนักงานมากแน่ๆ เมื่อคิดได้ดังนั้นก็ลงมือค้นคว้าอยู่หลายเดือน คาร์ลสันได้เรียนรู้ถึงวัสดุ  นำแสง(photoconductive material) ซึ่งเมื่อฉายแสงไปบนวัสดุนี้จะทำให้มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น เค้าตั้งใจจะประยุกต์หลักการนี้ไปใช้สร้างเครื่องทำ

สำเนา

คาร์ลสันได้รับความช่วยเหลือจากอ๊อตโต คอร์นี )Otto Kornei) ในการเตรียมแผ่นสังกะสีที่เคลือบผิวด้วยกำมะถันเพื่อใช้เป็นวัสดุนำแสง ส่วนต้นฉบับที่ใช้ในการทดลองคัดลอกคือสไลด์แก้วสำหรับกล้องจุลทรรศน์ ที่มีข้อความเขียนว่า "10-22-38 ASTORIA" ม่านของห้องปิดลงเพื่อป้องกันแสงไม่ให้ส่องไปยังแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถัน และการทดลอง

เริ่มขึ้น

ทั้งคู่ใช้ผ้าเช็ดหน้าถูๆ ๆ ผิวกำมะถัน อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประจุบวกบนผิวกำมะถัน จากนั้นนำแผ่นสไลด์ต้นฉบับมาประกบ แล้วใช้โคมไฟมาส่องผ่านแผ่นสไลด์สักครู่ ตามหลักการแล้วเมื่อแสงกระทบผิวกำมะถันจะทำให้เกิดประจุลบซึ่งจะหักล้างกับ ประจุบวกที่มีอยู่ก่อน แต่อักษรบนสไลด์จะบังแสงไว้ทำให้ผิวกำมะถันที่อยู่ใต้ตัวอักษรไม่โดนแสง ประจุบวกน่าจะเหลืออยู่ ขั้นตอนต่อไปคือใส่ผงหมึก ซึ่งในตอนนั้นคาร์ลสันใช้ผงไลโคโปเดียม)lycopodium powder) มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลได้จากสปอร์ของพืชในตระกูลไลโคโปเดียม เมื่อแยกสไลด์ต้นฉบับออกแล้วเป่าผงไลโคโปเดียมลงบนแผ่นสังกะสี หลังจากปัดผงส่วนเกินออกสิ่งที่เหลืออยู่บนนั้นคือ ตัวอักษรที่เกือบเหมือนกับต้นฉบับ

คาร์ลสันและอ๊อตโตทดลองซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อ ให้แน่ใจว่าไม่ได้ฝันไป เมื่อแน่ใจแล้วจึงนำกระดาษไขมาทาบลงบนแผ่นสังกะสีและให้ความร้อน ไขจากกระดาษละลายและดูดเอาหมึกจากแผ่นสังกะสีให้ติดอยู่บนแผ่นกระดาษ ในที่สุด เป็นอันว่าสำเนาซีร็อกซ์แผ่นแรกได้ถือกำเนิดขึ้น ในวันที่ 22 ตุลาคม 2481 หรือวันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว หลังจากนั้นคาร์ลสันได้จดสิทธิบัตรเทคนิคนี้เอาไว้ อย่างไรก็ตามแม้จะประสบความสำเร็จในหลักการ แต่เมื่อนำไปเสนอกับบริษัทต่างๆ กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย เครื่องถ่ายเอกสารจึงยังไม่มีการผลิตใน

เชิงพาณิชย์ จนอีกหลายปีต่อมา
 
สำเนาเอกสารแผ่นแรกของโลก ได้จากกระบวนการ
Xerography (xero = แห้ง, graphy = เขียน)
หรื่อที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ซีร็อกซ์ (Xerox)
เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกสร้างโดยเชสเตอร์ คาร์ลสัน
แม้จะทำงานได้ไม่ดีนัก แต่ก็เป็นพื้นฐานทำให้สามารถ
สร้างเครื่องซีร็อกซ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
      
หลังจากนั้น 5 ปี  สถาบัน Battelle Memorial Institute ตกลงเซ็นสัญญาร่วมพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสาร คาร์ลสันจึงสามารถสร้างเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกได้สำเร็จแม้จะยังทำงาน ไม่ดีนัก และในปี 2489 

สถาบัน Battelle ได้มอบสิทธิในการพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสารให้กับบริษัทฮาลอยด์ (Haloid) บริษัทเล็กๆ 
แห่งหนึ่ง ที่ผลิตกระดาษอัดรูปถ่าย บริษัทฮาลอยด์ใช้เวลาพัฒนาเครื่องถ่ายเอกสารจนถึงปี 2502 ในที่สุดก็สามารถวางขายเครื่องถ่ายเอกสารสำหรับสำนักงานได้ ซึ่งก็ได้รับความนิยมและทำกำไรได้
มหาศาล จนบริษัทเล็กๆ ขยายกิจการขึ้นและเปลี่ยนชื่อจาก ฮาลอยด์ เป็น ซีร็อกซ์ (xerox) ในเวลาต่อมา
เครื่องซีร็อกซ์รุ่น 914  รุ่นแรกที่ออกวางจำหน่าย
แม้จะยังไม่ได้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ก็ช่วยบุกเบิก
ตลาดของเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้สำนักงานต่างๆ
รู้จักเครื่องถ่ายเอกสารของซีร็อกซ์

Buy now  http://astore.amazon.com/laserprintertoner00-20
                                               ขอขอบคุณที่มาของบทความ วิชาการ.คอม